เปรียบเทียบลำดับการทรงอารมณ์ฌานตั้งแต่ ปฐมฌานถึงจตุถฌาน ของวิธีการฝึกแบบอานาปานสติและพุทธานุสติดังนี้ พุทธานุสติ โดยมีหลักการ คือ การบริกรรมระลึกถึง คำว่า “พุทโธ” เป็นสติ ปฐมฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา โดย วิตก คือ บริกรรมคำภาวนาในใจตลอด วิจารณ์ คือ มีอารมณ์เคล้าคลึงแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับคำภาวนานั้น ปีติ คือ มีความเอิบอิ่มใจ เกิดอาการซาบซ่านทางกาย เช่น รู้สึกขนลุกซู่ มีอาการทางกายในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวโยก ตัวเบา ตัวลอย สุข คือ มีความสุขใจตลอด เกิดแต่สุขเวทนาโดยถ่ายเดียว ใจไม่เป็นทุกข์กับเหตุการณ์ใดๆเลย เอกัคคตา มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาธิ และมีอุเบกขาแลสติตั้งอยู่ ผู้ที่ได้ปฐมฌานจะมีอารมณ์ตรึกนึกคิดในคำภาวนานำก่อนเสมอ ทุติยฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ ละวิตกและวิจารณ์ได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข และ เอกัคตา ก็คือจะมีลักษณะของอารมณ์ฌาน คือ คำภาวนาหาย คงเหลือแต่ ความอิ่มใจ รู้สึก เบากาย เบาใจ มีความสุขใจ และมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว แลมีอุเบกขาคือความเป็นกลาง วางเฉยต่อสิ่งต่างๆรอบตัวแลมีสติตั้งอยู่ ผู้ที่ได้ ทุติยฌาน จะมีลักษณะของอารมณ์ ระลึกถึง อาการความปีติทางกายก่อนเสมอ เช่น ระลึกถึงอารมณ์ที่มีความขนลุกขนพองทางกาย เสมือนคนที่พึ่งตื่นมาในตอนเช้ามืดแล้วสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นในหน้าหนาว ระลึกถึงอาการที่ได้อาบน้ำตอนเช้ามืด หรือระลึกถึงอาการทางกายที่ได้นั่งอยู่ในห้องแอร์ แล้วเกิดความรู้สึกอิ่มกายอิ่มใจ อาการที่รู้สึกเหมือนกับว่าพึ่งกินข้าวอิ่มใหม่ๆ อย่างนี้เป็นต้น นักปฏิบัติธรรมบางรายบางท่านอยู่ได้เป็นเดือนๆโดยไม่ต้องกินข้าวเลย เพราะอาศัย เสพปีติเป็นอาหาร ยกตัวอย่างเช่น นักบวช ฤาษี ในสมัยก่อน หรือ พระสายอรัญวาสี(พระป่ากรรมฐาน) (ตัวข้าพเจ้าเองสมัยก่อนตอนบวชพระเมื่อ 19 ปีก่อนก็ยังเคย งดฉันอาหาร เป็นเวลา 11 วัน ช่วงเร่งความเพียรทางใจ) ตติยฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ ละ วิตก วิจารณ์ และ ปีติ ได้ คงเหลือแต่ สุข และ เอกัคตา ก็คือ จะมีลักษณะของอารมณ์ฌาน คือ อาการชุ่มชื่น ขนลุกชูชัน กายฟู ใจฟู อาการอิ่มกาย อิ่มใจ ทุกๆอาการที่ว่ามาทั้งหมดที่เป็น ปีติ จะหายไป แต่จะมีความรู้สึก เป็นสุข ทางกาย และเป็นสุขทางใจ โดยเฉพาะความรู้สึกสุขใจ จะเห็นเด่นชัดมาก มันเป็นอารมณ์และความรู้สึกสุขที่ละเอียดอ่อนมาก ส่วนใหญ่พระอริยะแต่ละท่านมักจะติดสุขจากฌานนี้กันมาก เพราะตติยฌานนี้ได้ชื่อว่าเป็นฌานอันเป็นที่รักของ พระอริยะ ทั้งหลาย ยกตัวอย่าง หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ท่านเองยังเคยติดสุขในสมาธิอยู่ถึง สิบกว่าปี ผู้ที่ได้ ตติยฌาน เป็นอารมณ์นั้น จะมีลักษณะของอารมณ์คือ ระลึกถึงความสุข กาย สุขใจ เป็นอารมณ์ ไม่ค่อยจะยินดียินร้ายกับอะไรทั้งหลาย ใครจะว่าอะไรก็ดีไปหมด เกิดเหตุการณ์อะไรร้ายแรงในชีวิตก็ว่าดีไปหมด เห็นใครทำอะไรให้ที่ไม่กีใส่ไม่ว่าเขาจะตั้งใจกรือไม่ตั้งใจก็ดี ก็มองว่าดีไปหมด ไม่ใคร่จะมีอารมณ์ยินร้ายกับเรื่องใดๆ ไม่เสียใจ แม้จะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น คือจะมองว่าดีไปหมดแล้วก็สุขใจอย่างเดียว ระลึกถึงความสุขใจเป็นที่ตั้ง ตลอดเวลา ( ตัวข้าพเจ้าเองตอนสมัยบวชเป็นพระเมื่อ 19 ปี ที่แล้วก็เคยเป็นเหมือนกัน มีความสุขใจตลอดทั้งวันทั้งคืน มองทุกสิ่งในแง่ดีหมด) จตุถฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ คือ ละวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ได้ คงเหลือแต่ เอกัคตาและอุเบกขา มีอารมณ์ใจเป็นหนึ่งเดียวแน่วแน่ จะคิด จะพูด จะทำอะไร มีอารมณ์ใจเป็นหนึ่งเดียวตลอด ไม่มีวอกแวกไปทางใด แม้จะไม่มีอารมณ์ใจให้ไปทำอะไร คิด พูด หรือ ทำอะไร ก็จะทรงอารมณ์อยู่ที่ อารมณ์ใจหนึ่งเดียวคือมีอารมณ์ใจหนึ่งเดียวในอุเบกขา จะนิ่ง เฉยตลอด มีอิริยาบถทุกอย่างด้วยอารมณ์ใจที่นิ่งเป็นหนึ่งเดียวในอุเบกขา หรือ ถ้าไล่ลำดับญานก็จะอยู่ในช่วงของ “สังขารุเปกขาญาณ” ผู้ที่ได้จตุถฌานเป็นอารมณ์นั้น จะมีอารมณ์ดังนี้ คือ ระลึกถึงอารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวในกายและใจเป็นอารมณ์ โดยมีอารมณ์อุเบกขาเป็นที่ตั้ง จะทำการสิ่งใดก็ไม่ใคร่จะมีความรู้สึก ยินดี ยินร้าย กับเรื่องใดๆ ไม่มีอารมณ์คิดปรุงแต่งเมื่อมี ผัสสะเข้ามากระทบกับอายตนะทั้งหลาย เช่น ตาเห็นรูป แต่ไม่คิดปรุงแต่ง หูได้ยินเสียงแต่ไม่คิดปรุงแต่ง จมูกได้กลิ่นแต่ไม่คิดปรุงแต่ง ลิ้นลิ้มรสแต่ไม่คิดปรุงแต่ง กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งแต่ไม่คิดปรุงแต่ง อย่างนี้ เป็นต้น ผู้ที่อยู่ในอารมณ์ของจตุถฌานนี้ จะมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวในเอกัคตารมณ์โดยมีพื้นฐานตั้งมั่นในอารมณ์อุเบกขาแต่มีสติรู้ตัวตลอดเท่านั้น อานาปานสติ โดยมีหลักการ คือ การระลึกถึง ลมหายใจเข้าออก เป็นสติ ปฐมฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา โดย วิตก คือ การระลึกถึง ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ ตลอดเวลา วิจารณ์ คือ มีอารมณ์เคล้าคลึงแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับ ลมหายใจเข้าออกนั้น ปีติ คือ มีความเอิบอิ่มใจ เกิดอาการซาบซ่านทางกาย เช่น รู้สึกขนลุกซู่ มีอาการทางกายในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวโยก ตัวเบา ตัวลอย ลมหายใจเข้าออกเริ่มเบาลงเรื่อยเรื่อย และเริ่มละเอียดขึ้น สุข คือ มีความสุขใจตลอด เกิดแต่สุขเวทนาโดยถ่ายเดียว ใจไม่เป็นทุกข์กับเหตุการณ์ใดๆเลย ลมหายใจเข้าออกละเอียดกว่าปิติและเบากว่าปิติ เอกัคคตา มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาธิ และมีอุเบกขาแลสติตั้งอยู่ ลมหายใจเข้าออกแทบจะไม่มีเลย ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก ผู้ที่ได้ปฐมฌานจะมีอารมณ์ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก นำก่อนเสมอ ตั้งแต่ทุติยฌานจนถึงจตุถฌานจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพุทธานุสติเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงแค่ทุติยฌานนั้น ลมหายใจเข้าออกจะเริ่มเบาลงและละเอียดขึ้น ส่วนตติยฌานนั้นลมหายใจเข้าออกเบาลงมากและละเอียดขึ้นมากและ จตุถฌาน นั้นลมหายใจเข้าออกแทบไม่มีเลยคือไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกอีกเลย หรือจะเรียกว่า ลมดับลมหายก็ได้ อารมณ์ฌานทุกๆฌานนี้ นักปฎิบัติ สามารถ ทรงอารมณ์ได้ทุกฌานควบคู่กับ การใช้ชีวิตประจำวันเพียงแต่ว่าจะต้องเป็นการ ทรงอารมณ์ฌาน ในทาง สัมมาฌาน สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ คือต้องดำเนินตามมรรคแปดเท่านั้น

 เปรียบเทียบลำดับการทรงอารมณ์ฌานตั้งแต่ ปฐมฌานถึงจตุถฌาน ของวิธีการฝึกแบบอานาปานสติและพุทธานุสติดังนี้

พุทธานุสติ โดยมีหลักการ คือ การบริกรรมระลึกถึง คำว่า “พุทโธ” เป็นสติ
ปฐมฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
โดย วิตก คือ บริกรรมคำภาวนาในใจตลอด
วิจารณ์ คือ มีอารมณ์เคล้าคลึงแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับคำภาวนานั้น
ปีติ คือ มีความเอิบอิ่มใจ เกิดอาการซาบซ่านทางกาย เช่น รู้สึกขนลุกซู่ มีอาการทางกายในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวโยก ตัวเบา ตัวลอย
สุข คือ มีความสุขใจตลอด เกิดแต่สุขเวทนาโดยถ่ายเดียว ใจไม่เป็นทุกข์กับเหตุการณ์ใดๆเลย
เอกัคคตา มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาธิ และมีอุเบกขาแลสติตั้งอยู่
ผู้ที่ได้ปฐมฌานจะมีอารมณ์ตรึกนึกคิดในคำภาวนานำก่อนเสมอ
ทุติยฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้
ละวิตกและวิจารณ์ได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข และ เอกัคตา ก็คือจะมีลักษณะของอารมณ์ฌาน คือ คำภาวนาหาย คงเหลือแต่ ความอิ่มใจ รู้สึก เบากาย เบาใจ มีความสุขใจ และมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว แลมีอุเบกขาคือความเป็นกลาง วางเฉยต่อสิ่งต่างๆรอบตัวแลมีสติตั้งอยู่
ผู้ที่ได้ ทุติยฌาน จะมีลักษณะของอารมณ์ ระลึกถึง อาการความปีติทางกายก่อนเสมอ เช่น ระลึกถึงอารมณ์ที่มีความขนลุกขนพองทางกาย เสมือนคนที่พึ่งตื่นมาในตอนเช้ามืดแล้วสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นในหน้าหนาว ระลึกถึงอาการที่ได้อาบน้ำตอนเช้ามืด หรือระลึกถึงอาการทางกายที่ได้นั่งอยู่ในห้องแอร์ แล้วเกิดความรู้สึกอิ่มกายอิ่มใจ อาการที่รู้สึกเหมือนกับว่าพึ่งกินข้าวอิ่มใหม่ๆ อย่างนี้เป็นต้น นักปฏิบัติธรรมบางรายบางท่านอยู่ได้เป็นเดือนๆโดยไม่ต้องกินข้าวเลย เพราะอาศัย เสพปีติเป็นอาหาร ยกตัวอย่างเช่น นักบวช ฤาษี ในสมัยก่อน หรือ พระสายอรัญวาสี(พระป่ากรรมฐาน) (ตัวข้าพเจ้าเองสมัยก่อนตอนบวชพระเมื่อ 19 ปีก่อนก็ยังเคย งดฉันอาหาร เป็นเวลา 11 วัน ช่วงเร่งความเพียรทางใจ)
ตติยฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้
ละ วิตก วิจารณ์ และ ปีติ ได้ คงเหลือแต่ สุข และ เอกัคตา ก็คือ จะมีลักษณะของอารมณ์ฌาน คือ อาการชุ่มชื่น ขนลุกชูชัน กายฟู ใจฟู อาการอิ่มกาย อิ่มใจ ทุกๆอาการที่ว่ามาทั้งหมดที่เป็น ปีติ จะหายไป แต่จะมีความรู้สึก เป็นสุข ทางกาย และเป็นสุขทางใจ โดยเฉพาะความรู้สึกสุขใจ จะเห็นเด่นชัดมาก มันเป็นอารมณ์และความรู้สึกสุขที่ละเอียดอ่อนมาก ส่วนใหญ่พระอริยะแต่ละท่านมักจะติดสุขจากฌานนี้กันมาก เพราะตติยฌานนี้ได้ชื่อว่าเป็นฌานอันเป็นที่รักของ พระอริยะ ทั้งหลาย
ยกตัวอย่าง หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ท่านเองยังเคยติดสุขในสมาธิอยู่ถึง สิบกว่าปี
ผู้ที่ได้ ตติยฌาน เป็นอารมณ์นั้น จะมีลักษณะของอารมณ์คือ ระลึกถึงความสุข กาย สุขใจ เป็นอารมณ์ ไม่ค่อยจะยินดียินร้ายกับอะไรทั้งหลาย ใครจะว่าอะไรก็ดีไปหมด เกิดเหตุการณ์อะไรร้ายแรงในชีวิตก็ว่าดีไปหมด เห็นใครทำอะไรให้ที่ไม่กีใส่ไม่ว่าเขาจะตั้งใจกรือไม่ตั้งใจก็ดี ก็มองว่าดีไปหมด ไม่ใคร่จะมีอารมณ์ยินร้ายกับเรื่องใดๆ ไม่เสียใจ แม้จะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น คือจะมองว่าดีไปหมดแล้วก็สุขใจอย่างเดียว ระลึกถึงความสุขใจเป็นที่ตั้ง ตลอดเวลา ( ตัวข้าพเจ้าเองตอนสมัยบวชเป็นพระเมื่อ 19 ปี ที่แล้วก็เคยเป็นเหมือนกัน มีความสุขใจตลอดทั้งวันทั้งคืน มองทุกสิ่งในแง่ดีหมด)
จตุถฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้ คือ ละวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ได้ คงเหลือแต่ เอกัคตาและอุเบกขา มีอารมณ์ใจเป็นหนึ่งเดียวแน่วแน่ จะคิด จะพูด จะทำอะไร มีอารมณ์ใจเป็นหนึ่งเดียวตลอด ไม่มีวอกแวกไปทางใด แม้จะไม่มีอารมณ์ใจให้ไปทำอะไร คิด พูด หรือ ทำอะไร ก็จะทรงอารมณ์อยู่ที่ อารมณ์ใจหนึ่งเดียวคือมีอารมณ์ใจหนึ่งเดียวในอุเบกขา จะนิ่ง เฉยตลอด มีอิริยาบถทุกอย่างด้วยอารมณ์ใจที่นิ่งเป็นหนึ่งเดียวในอุเบกขา หรือ ถ้าไล่ลำดับญานก็จะอยู่ในช่วงของ “สังขารุเปกขาญาณ”
ผู้ที่ได้จตุถฌานเป็นอารมณ์นั้น จะมีอารมณ์ดังนี้ คือ ระลึกถึงอารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวในกายและใจเป็นอารมณ์ โดยมีอารมณ์อุเบกขาเป็นที่ตั้ง จะทำการสิ่งใดก็ไม่ใคร่จะมีความรู้สึก ยินดี ยินร้าย กับเรื่องใดๆ ไม่มีอารมณ์คิดปรุงแต่งเมื่อมี ผัสสะเข้ามากระทบกับอายตนะทั้งหลาย เช่น ตาเห็นรูป แต่ไม่คิดปรุงแต่ง หูได้ยินเสียงแต่ไม่คิดปรุงแต่ง จมูกได้กลิ่นแต่ไม่คิดปรุงแต่ง ลิ้นลิ้มรสแต่ไม่คิดปรุงแต่ง กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งแต่ไม่คิดปรุงแต่ง อย่างนี้ เป็นต้น ผู้ที่อยู่ในอารมณ์ของจตุถฌานนี้ จะมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวในเอกัคตารมณ์โดยมีพื้นฐานตั้งมั่นในอารมณ์อุเบกขาแต่มีสติรู้ตัวตลอดเท่านั้น
อานาปานสติ โดยมีหลักการ คือ การระลึกถึง ลมหายใจเข้าออก เป็นสติ
ปฐมฌาน มีอารมณ์ฌานดังนี้
วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
โดย
วิตก คือ การระลึกถึง ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ ตลอดเวลา
วิจารณ์ คือ มีอารมณ์เคล้าคลึงแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับ ลมหายใจเข้าออกนั้น
ปีติ คือ มีความเอิบอิ่มใจ เกิดอาการซาบซ่านทางกาย เช่น รู้สึกขนลุกซู่ มีอาการทางกายในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวโยก ตัวเบา ตัวลอย ลมหายใจเข้าออกเริ่มเบาลงเรื่อยเรื่อย และเริ่มละเอียดขึ้น
สุข คือ มีความสุขใจตลอด เกิดแต่สุขเวทนาโดยถ่ายเดียว ใจไม่เป็นทุกข์กับเหตุการณ์ใดๆเลย ลมหายใจเข้าออกละเอียดกว่าปิติและเบากว่าปิติ
เอกัคคตา มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาธิ และมีอุเบกขาแลสติตั้งอยู่ ลมหายใจเข้าออกแทบจะไม่มีเลย ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก
ผู้ที่ได้ปฐมฌานจะมีอารมณ์ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก นำก่อนเสมอ
ตั้งแต่ทุติยฌานจนถึงจตุถฌานจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพุทธานุสติเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงแค่ทุติยฌานนั้น ลมหายใจเข้าออกจะเริ่มเบาลงและละเอียดขึ้น ส่วนตติยฌานนั้นลมหายใจเข้าออกเบาลงมากและละเอียดขึ้นมากและ จตุถฌาน นั้นลมหายใจเข้าออกแทบไม่มีเลยคือไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกอีกเลย หรือจะเรียกว่า ลมดับลมหายก็ได้
อารมณ์ฌานทุกๆฌานนี้ นักปฎิบัติ สามารถ ทรงอารมณ์ได้ทุกฌานควบคู่กับ การใช้ชีวิตประจำวันเพียงแต่ว่าจะต้องเป็นการ ทรงอารมณ์ฌาน ในทาง สัมมาฌาน สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ คือต้องดำเนินตามมรรคแปดเท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Fimages%2Fdm-info-63%2FDM-INF-40.jpg&imgrefurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Findex.php%2F2017-10-14-13-20-39%2F2020-02-06-08-06-17%2Fitem%2F5892-08-aug28-63-dama-info-40&tbnid=F7P_hi3CPvv6DM&vet=12ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ..i&docid=xa7S-l5tpSrtEM&w=1152&h=1536&q=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B0&ved=2ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ