โดย: การประย การประยกตุ กตุ ์ หล ์ หลักขันติธรรมเพ ิธรรมเพ ื่อการเสร ื่อการเสริมสร ้ างส ้ างสังคมสันติสขุ ขุ An Application of Khanti Dhamma to Strengthening the Social Peace พระครูสชาต ุ ิกาญจนวงศ์ (ชานนท์จาครโต) Phrakhrusuchatkanchanawong (Chanon Cagarato) วัดเขาวงพระจันทร์ Wat Khaowongprachan , Thailand. Email: chanoncagarato@gmail.com บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขันติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ เพื่อประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในสังคมไทยปัจจุบัน วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ขันติคือ ความอดทน อดกลั้นทางกาย ทางใจ ไม่ประพฤติล่วง ละเมิดและแสดงกิริยาที่เหมาะสม ขันตินับเป็นคุณธรรมสําคัญที่บุคคลควรนํามาประพฤติ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ประเภทของขันติธรรมมี 4 อย่างคือ ความอดทนต่อความ ลําบาก ความอดทนต่อทุกขเวทนา ความอดทนต่อความเจ็บใจ ความอดทนต่ออํานาจกิเลส ขันติในแง่ที่เป็นคุณธรรมสนับสนุนให้การดํารงชีวิตประจําวันบรรลุเป้าหมาย ขันตินับเป็น คุณธรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนในการดํารงชีวิตของบุคคลให้ประสบกับสิ่งที่ดีงาม การประยุกต์หลักขันติธรรมในครอบครัวควรยึดหลัก 5 ประการของเบญจศีลเบญจธรรม คือ หลักประกันร่างกาย หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม และหลักประกันตนเอง 5 ข้อนี้เป็นกฎระเบียบและเป็นหลักประพฤติ ปฏิบัติขั้นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ทุกคน เมื่อนําหลักขันติธรรมมาเสริมสร้างครอบครัวและ สังคมมาใช้ร่วมกับหลักพุทธธรรมในการบริหารประเทศแล้ว จะทําให้เกิดความสุข สงบใน ประเทศได้ คําสําคัญ: หลักขันติธรรม, การเสริมสร้าง, สังคมสันติสุข 14 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) Abstract This article aims to study Khanti-Dhamma in Theravada Buddhist Scripture; and (3) to apply Khanti-Dhamma for promoting social peace in the present Thai society. From this study, it is found that Khanti means patience, bodily and mindful tolerance, not behaving in any violation and the expressions of proper manners. Khanti is an important virtue that people should have for their behaviors in attaining good aims. There are 4 types of Khanti-Dhamma, i.e., the patience towards difficulties, towards suffering, towards resentment and towards the power of desires, respectively. The application of Khanti-Dhamma in families should hold on to each of 5 principles of Pañcasila and Pañcadhamma which are the guarantees of body, property, family, society and self. These 5 guarantees are the basic rules and behavioral principle of practice for every human being. Moreover, Khanti-Dhamma being used in listening, thinking and training with patience will lead to wisdom. Upon using Khanti-Dhamma to reinforce families and society together with Buddhadhamma in governing the country, peaceful happiness can arise. Keywords: Khanti Dhamma, Strengthening, Social Peace Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 15 บทนํา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติสุขที่ก่อให้เกิดสันติภาพ และมีคําสอนที่เน้น การรู้จักให้อภัยอย่างแท้จริง ให้รู้จักการอดทนต่อสิ่งที่เข้ามากระทบในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิต มีปรากฏในคําสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่เหล่าสาวก ตอน หนึ่งว่า “ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรมผู้ทําร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะ” [(ที.ม. (ไทย) 10/90/50)] เพราะพระพุทธศาสนา สอนให้เรามีความรัก รวมไปถึง การให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ไม่ใช้กําลังเบียดเบียนคนที่ด้อยกําลังกว่าตน รู้จักการอดทนต่อ บุคคล และผู้ที่มีอดทนอดกลั้นจะได้รับการสรรเสริญจากบัณฑิต และสามารถพัฒนาจิตใจ ของตนเองให้สูงขึ้น ดังมีเรื่องที่เกี่ยวกับความอดทนในคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่นักปราชญ์ โบราณจารย์นํามาเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบของทศชาติชาดก เรื่อง ขันติบารมีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ดังปรากฏในวัฒนธรรมของสังคมไทยชาวพุทธ เมื่อเกิดการพลั้งเผลอ ทําผิดต่อกัน เกิดความเข้าใจผิดต่อกัน เกิดความขัดแย้งกันก็จะแสดง ความรักความเมตตาและมักให้อภัยซึ่งกันและกัน ข้อนี้เป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดี งามของสังคมไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมคําสอนมาจากพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความคิด และการ ประพฤติปฏิบัติดีของคนไทย การทําความดีต่อกันในระหว่างวงศ์ญาติมิตรสหาย เป็นคุณ สําคัญที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่ง สามารถสมัครสมานยึดเหนี่ยวน้ําใจให้รักใคร่กัน ให้นึกถึงกัน ด้วยความขอบคุณ โลกคือชุมชนที่ตั้งอยู่ด้วยสันติสุขก็เพราะอาศัย ศีล อาศัย สังคหธรรม คือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจให้รักกัน ประกอบด้วย การให้การเจรจาถ้อยคําที่น่ารัก การ ประพฤติประโยชน์ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ [ที.ปา. (ไทย) 11/210/170-171)] ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันและได้นํามาเป็นแนวทางในการอยู่ รวมกันในสังคม และหลักธรรมสําคัญที่ส่งผลให้เกิดความสันติสุขในประเทศ สามารถ ดําเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข การพัฒนาคนในสังคมให้เป็นคนดีมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง มีปัญญาพิจารณาสิ่ง ต่างๆในชีวิตได้อย่างดีเพ่ือความสงบสุขในสังคมไทย จําเป็นจะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดระเบียบสังคมให้ดีงาม และเกื้อกูลแก่คุณธรรม ด้วยเหตุนี้จึงมีหลักธรรมอยู่หลาย ประการที่ทําให้คนในสังคมและสภาพแวดล้อมได้รับการจัดสรรก่อให้เกิดชีวิตที่ดีร่วมกัน เพื่อให้คุณธรรมภายในเจริญงอกงาม นับว่าเป็นเรื่องสําคัญที่สุดในชีวิตที่จะช่วยให้การ ดําเนินสู่จุดหมายตามแนวทางของกระบวนธรรมที่รู้เข้าใจแล้วนั้น เป็นผลสําเร็จขึ้นมาใน ชีวิตจริงในการดําเนินชีวิตของคน (พระพรหมคุณาภรณ์ป.อ. ปยุตฺโต,2549) ถึงแม้ว่าทุก 16 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) คนต่างก็มีข้อบกพร่องอยู่ก็ตามแต่ถ้าหากรู้จักหลักในการอยู่ร่วมกันพร้อมทั้งได้ปฏิบัติตาม หลักการนั้นแล้วก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม กติกาในการอยู่ร่วมกันถือได้ว่าเป็นสิ่งสําคัญ (สมภาร พรมทา, 2548) จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง “การประยุกต์หลักขันติธรรมเพื่อการสร้างสังคมสันติ สุข” เพราะเห็นว่ามีเนื้อหาสาระสมบูรณ์ที่ควรน้อมนํามาศึกษาทั้งโดยปริยัติและปฏิบัติอีก ผู้วิจัยจึงได้เสนอหลักการและวิธีการของขันติธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อเป็นองค์ ความรู้นําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันโดย สันติของคนในสังคม ประเทศชาติแม้กระทั่งการมีสันติภาพของโลกโดยส่วนรวม และเมื่อ ศึกษาจนได้ข้อสรุปแล้ว ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อที่ผู้สนใจจะศึกษาค้นคว้า ในโอกาส และ นําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินชีวิตต่อไป วัตถุประสงค ุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักขันติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขใน สังคมไทยปัจจุบัน วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study Research) โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งมีลําดับ ขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากเอกสาร เช่ น พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถาที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะศึกษา 2. ศึกษาข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากเอกสารและรายงานการวิจัย เช่น ข้อเขียนที่เป็น ผลงานทางวิชาการของท่านผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนา 3. นําข้อมูลจากทั้งสองแหล่งข้างต้น มาวิเคราะห์แล้วนําเสนอในรูปการพรรณนา เชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ประกอบกับทรรศนะแนวความคิดเห็นของผู้วิจัย 4. สรุปผลของการศึกษาวิจัยและนําเสนอขอม้ ูลในรูปแบบพรรณนาต่อไป Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 17 หลักขันติธรรมในค ิธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ุทธศาสนาเถรวาท ความหมายของขันติธรรม ขันติคือ ความอดทน อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอัน ชอบ เป็นกิริยาที่อดทนต่อโลภะความอยากได้ต่อโทสะความโกรธเคืองจนถึงความพยาบาท มุ่งร้ายต่อโมหะความหลงงมงายเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ยั่วให้เกิดความอยากได้อยาก ล้างผลาญ อยากเบียดเบียนก็อดทนไว้ไม่แสดงอาการตามอํานาจแห่งโลภะโทสะโมหะและ อดทนต่อทุกขเวทนา เย็น ร้อน เป็นต้น อันทําให้ลําบากอดทนตรากตรําประกอบการงาน ต่างๆ หรืออดทนต่อถ้อยคําที่มีผู้กล่าวชั่วไม่เป็นที่ชอบใจ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช เจริญ สุวฑฺฒโณ, 2553; พระพรหมคุณาภรณ์ป.อ.ปยุตฺโต, 2551) สามารถ จําแนกขันติความอดทนได้ 4 กรณีดังนี้ 1) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความลําบาก ตรากตรําทางกาย อันเกิดจาก ความร้อนความหนาวความหิวกระหายและความเหนื่อยล้า 2) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดจากความเจ็บไข้ ได้ป่วย 4) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความเจ็บใจ อันเกิดจากวาจาหยาบคาย เสียดสีคํากล่าวล่วงเกินให้เสียหาย 4) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความเจ็บใจ อันเกิดจากวาจาหยาบคาย เสียดสีคํากล่าวล่วงเกินให้เสียหาย จากการศึกษาความหมายของขันติขันตินับเป็นหลักธรรมสําคัญทั้งในระดับสามัญ แห่งการดํารงชีวิต อันจะส่งเสริมให้บุคคลดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข จนกระทั่งเป็น หลักธรรมสําคัญในการส่งเสริมคุณธรรมระดับสูงเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่ง พระพุทธศาสนา ความสําคัญของขันติธรรม เป้าหมายในการดํารงชีวิตของมนุษย์คือ การตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ความต้องการทางร่างกายเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ความต้องการทาง สังคมเพื่อความอบอุ่นและความต้องการทางใจ เพ่ือชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งการดําเนินชีวิตให้ บรรลุเป้าหมายไม่ว่าในระดับใด ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมสําคัญที่จะส่งเสริมให้ประสบ ความสําเร็จดังเป้าประสงค์ขันตินับเป็นแรงขับเคลื่อนสําคัญที่จะส่งผลให้สมประสงค์ในสิ่ง นั้นๆ สามารถพิจารณาได้ดังที่บุญมีแท่นแก้ว (2542) แสดงไว้ในหนังสือความจริงของชีวิต ดังนี้ 18 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) 1) ความต้องการทางชีววิทยาอันเป็นความต้องการทางร่างกายเป็นความต้องการ พื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์เช่นอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค 2) ความต้องการทางสังคมเพราะโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่รวมกัน เพื่อความอบอุ่นใจเพอสงเคราะห์อนุเคราะห์กันทําให้มีการแต่งงานมีคู้ครองมีบุตรสืบสกุล 3) ความต้องการทางใจอันเป็นความต้องการที่ลึกซึ้งอยู่เบื้องหลังความต้องการ ด้านอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากเป้าหมายของชีวิตที่สําเร็จได้ด้วยอาศัยความอดทน ขันตินับเป็น คุณธรรมสําคัญที่บุคคลควรนํามาประพฤติเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ทั้งทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตใจ รวมถึงใช้ความอดทนพยายามสร้างสิ่งสนับสนุนรอบข้างที่จะ เกื้อหนุนให้ตนเองดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข ขันติเป็นคุณธรรมสําคัญที่สามารถพิจารณาและนํามาใช้ได้ทั้งในแง่ที่เป็นคุณธรรม ด้วยเป็นคุณสมบัติประจําตัวของปัจเจกบุคคล เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนในการ ดํารงชีวิตของบุคคลให้ประสบกับสิ่งที่ดีงาม นอกจากนี้ขันติยังเป็นศีลธรรม เพราะการ ประพฤติขันติย่อมแสดงอาการอดทน อดกลั้นเพื่องดเว้นจากการเบียดเบียน งดเว้นจากการ ประพฤติชั่ว ทางกาย ทางวาจา ควบคุมกาย วาจาให้เรียบร้อย ผู้ประพฤติขันติจึงรักษาศีล รักษาความปกติเอาไว้ได้ขันติจึงมีลักษณะเป็นทั้งคุณธรรมและศีลธรรม ประเภทของขันติธรรม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้จําแนกประเภทของขันติธรรมไว้อยู่ 4 ประเภท คือ 1. ความอดทนต่อความลําบาก หมายความว่า คนทํางานมากๆ แล้วได้รับความ ลําบากเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย หรือ ถูกแดด ลมฝนกระทบ ย่อมได้รับความลําบาก นานับประการ คนที่ไม่มีขันติเมื่อเผชิญกับความลําบากตรากตรํา มักจะทอดทิ้งการงาน เสีย เป็นคนมือบาง เท้าบาง ทําอะไรทิ้งๆ ขว้างๆ แต่ผู้มีขันติย่อมอดทนต่อสิ่งเหล่านี้กัดฟัน ทนทํางานของตนให้สําเร็จ 2. ความอดทนต่อทุกขเวทนา หมายความว่า ทนต่อทุกขเวทนาอันเกิดจากการ เจ็บไข้ได้ป่วย คนที่ขาดขันติเมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะแสดงมารยาทอันไม่สมควร ออกมา เช่น เจ็บปวดไม่พอจะร้องก็ร้อง ไม่พอจะครางก็คราง มีอาการกระบิดกระบอน เป็นคนเจ้ามายา โทโสโมโหง่าย บางคนอ้างความเจ็บป่วยเป็นเลิศ กระทําความชั่วต่างๆ ก็มี แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จักอดกลั้นทนทานไม่ปล่อยตัวให้เสีย หรือตกไปในทางชั่วดังกล่าวนั้น 3. ความอดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า เมื่อถูกผู้อื่นกระทําล่วงเกินให้เป็นที่ ขัดใจ เช่น ถูกด่าว่า หรือสบประมาท ผู้ขาดขันติย่อมเดือดดาลแล้วทําร้ายตอบ ด้วยการ Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 19 กระทําอันร้ายแรงเกินเหตุ เช่น เหน็บแนมด้วยวาจาหยาบคายหรือก่อความวิวาท สร้างเวร กรรมไม่สิ้นสุด เป็นทางนํามาซึ่งความหายนะแก่ตัวและครอบครัว แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จัก อดทนสอนใจตัวเองหาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อยเป็นผลดีด้วยความสงบ 4. ความอดทนต่ออํานาจกิเลส หมายความว่า ความอดทนต่อความเจ็บใจในข้อ 3 นั้น เป็นความอดทนต่ออารมณ์ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน เช่น ความสนุก การเที่ยวเตร่การได้ ผลประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น การประย การประยุกตใช์ ใช์ ้หลักขันตธรรมเพ ิ ธรรมเพ ิ ื่อการเสร ื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสขในส ุ ขในส ุ ังคมไทย ังคมไทย ปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ศึกษาประเด็นขันติธรรมกับการเสรมสร ิ ้างบุคลิกภาพ การประยุกต์ใช้หลัก ขันติธรรมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หลักขันติธรรมกับการดําเนินชีวิตครอบครัว การประยุกต์หลักขันติธรรมใช้ในครอบครัวนั้น ควรยึดหลักประกัน 5 ประการของ เบญจศีล-เบญจธรรม คือ หลักประกันประการที่ 1 : ต่างฝ่ายต่างมีขันติธรรมไม่สร้างความโหดร้ายรุนแรงขึ้น ในจิตของกันและกันโดยการตั้งจิตไว้ในความเมตตากรุณา มีความรักใคร่ปรารถนาดีและ สงสารเห็นใจอีกฝ่ายเสมอในฐานะที่ได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันเสมือนลงเรือลาเดียวกันแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาการใช้กาลังข่มเหงทําร้ายร่างกายกันซึ่งมีผลเป็นความเป็นความบาดเจ็บ ทั้งร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะสามีต้องให้หลักประกันแก่ภรรยาให้มาก หลักประกันประการที่ 2 : ต่างฝ่ายต้องขันติธรรม ไม่เป็นคนมือไวเห็นแก่ได้จน สร้างความระแวงสงสัยให้แก่กันและกัน เพื่อเป็นหลักประกันด้านทรัพย์สินภายใน ครอบครัว ดังมีสามีภรรยาบางคู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องซ่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้เพื่อไม่ให้อีก ฝ่ายนําไปใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย อาทินําไปเล่นการพนันจัดเป็นการขาดหลักประกันทางด้าน เศรษฐกิจ หรือขาดความปลอดภัยทางทรัพย์สิน และขาดความเชื่อใจกัน หลักประกันประการที่ 3 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีขันติธรรมไม่ใจเร็วด่วนได้ตั้งตนไว้ใน ความพอดีในเรื่องกามคุณ มีความสันโดษยินดีพอใจเฉพาะในคู่ครองของตนโดยไม่คิด นอกใจ ไม่เหลาะแหละจึงจะเป็นหลักประกันในเรื่องความรักในคู่ครองได้ซึ่งนับเป็นความ ปลอดภัยของครอบครัว เพราะการเป็นต้นแบบที่ไม่เจ้าชู้ให้แก่ลูกหลานด้วย หลักประกันประการที่ 4 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีขันติธรรมไม่พูดปดมดเท็จต่อกัน เป็น การสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจกันด้วยหลักแห่งความสัตย์เป็นหลักประกันแห่งความ 20 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) ซื่อสัตย์ตรงต่อกัน มิเช่นนั้น คนที่รักกันมานาน หากได้รู้ในภายหลังว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ซื่อสัตย์ ต่อกัน ก็จะเปลี่ยนจากรักเป็นแค้นแทน จนถึงแก่ทําร้ายหรือทําลายกันในที่สุด หลักประกันประการที่ 5 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีหลักขันติธรรมไม่สร้างเหตุความลุ่ม หลง ขาดสติโดยใช้สิ่งเสพติดมึนเมาเป็นเครื่องย้อมใจให้เกิดความฮึกเหิมต้องใช้หลักการ ประคับประครองตนด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นหลักประกันแห่งความไม่ประมาทและที่ สําคัญที่ต้องตระหนักอย่างแรงกล้า เพราะเป็นทางนํามาของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ทั้งในครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ 2. หลักขันติธรรมกับการประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพควรยึดหลักขันติธรรมโดยประกอบสัมมาอาชีวะ เป็น แนวทางที่นําไปสู่ความสุขสงบภายใน เป็นการดําเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะ โดยยึด หลักการดังต่อไปนี้ 1) มีขันติธรรมไม่โลภอยากได้ทรัพย์คนอื่นเลี้ยงชีพ พระพุทธศาสนาเรียกภาวะ ทางจิตใจนี้ว่า อนภิชชา เป็นสภาพจิตที่สามารถควบคุมความโลภไว้ได้คือไม่โลภอยากได้ ของๆ คนอื่นในทางที่ไม่ชอบไม่ควร คิดเลี้ยงชีพวางแผนดําเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ศีลธรรม จนสามารถพัฒนาจิตของตนให้มีความพร้อมที่จะเสียสละ บริจาคสงเคราะห์คนทั้งหลายด้วยความเมตตา กรุณา มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อม อารีต่อคนทั้งหลายเรียกว่า เป็นคนมีน้ําใจงาม 2) มีขันติธรรมไม่คิดเบียดเบียนคนอื่นเลี้ยงชีพ เป็นการควบคุมสภาพจิตใจต่อ ความพยาบาท ปองร้าย ผู้อื่นเพื่อหวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ให้มีจิตเมตตา คิดเอื้อเฟื้อ ประโยชน์แก่ผู้อื่น อันจะนําไปสู่การแสวงหาประโยชน์ที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่ส่งผล กระทบต่อผู้อื่นให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย 3) มีขันติธรรมไม่คิดเอารัดเอาเปรียบคนอื่นเลี้ยงชีพ คือเว้นจากการคิดหา โอกาสเพื่อตักตวงเอาผลประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง การคิดเอารัดเอา เปรียบคนอื่นเลี้ยงชีวิตจัดเป็นความเห็นแก่ตัวและเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องในการดําเนิน ชีวิต ซึ่งขัดต่อหลักสัมมาอาชีวะ หลักการประกอบอาชีพตามหลักขันติธรรม คือการประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วย การเลี้ยงชีพชอบทางกาย ทางวาจาและทางใจอย่างมีความอดทนดําเนินชีวิตตามหลักกุศล กรรมบถนั้นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งการดําเนินชีวิตสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งเป็นหลักการของสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 21 สรุป วิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน สามารถนํามาประมวล ผลรวมของสาเหตุทั้งได้สองอย่างคือความขัดขัดแย้งที่เกิดจากภายนอกและความขัดแย้งที่ เกิดจากภายในซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อจิตภาพ คือสุขภาพจิตของมนุษย์เพราะว่าจิตของ มนุษย์นั้นได้ประสบกับการสูญเสีย “ดุลยภาพ ” อันเป็นการสูญเสียความสมดุล เนื่องจาก สถานการณ์ของความขัดแย้งในบางมิตินั้นได้ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพจิต และยังส่งผลเสียไป ยังระบบต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย ในทัศนะของพระพุทธศาสนา หลักขันติธรรม คือ ความ อดทนอดกลั้นให้มาก เพราะเราไม่ได้อยู่เพียงลําพังคนเดียว ต้องมีการติดต่อสื่อสาร เกี่ยวข้องกับคนรอบข้าง และผู้คนอีกมากมายในสังคม พบปะสิ่งของที่ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจ บ้าง ถ้าปราศจากความอดทนเสียแล้ว คุณงามความดีต่างๆที่เราได้สั่งสมไว้อาจจะพังทลาย ลงได้เพราะอารมณ์เพียงชั่ววูบ ที่เกิดจากการขาดความยั้งคิด ขาดความอดทน ไม่ได้ พิจารณาไตร่ตรองให้ดีผลที่เกิดแต่การมีขันติธรรมนั้น ทําให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้มี ความสุขในสังคมร่วมกัน ขันติธรรมมีส่วนสําคัญอย่างมากในการสร้างเสริมบุคลิกภาพ คือ บุคลิกภาพที่เป็น ลักษณะที่ปรากฏภายนอกได้แก่สภาพนิสัยจําเพาะ หรือลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลหนึ่ง ที่ แสดงออกมาในรูปพฤติกรรม ทางกาย วาจา ต่อบุคคลอื่น หรือต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ของบุคคลนั้น และบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะที่ปรากฏภายใน ได้แก่สภาพลักษณะนิสัย การ พัฒนาบุคลิกภาพ หมายถึง การปรับปรุงบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะที่ปรากฏภายนอก และ บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะภายใน ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสม ส่วนการประยุกต์ หลักขันติธรรมใช้ในครอบครัวนั้น ควรยึดหลักของเบญจศีล-เบญจธรรม ที่ประกอบด้วย หลักประกันร่างกาย หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม และ หลักประกันตนเอ เมื่อนําหลักขันติธรรมมาเสริมสร้างครอบครัวโดยยึดหลักเบญจศีล เบญจ ธรรมจะทําให้ครอบครัวมีความสุขในที่สุด หลักการประกอบอาชีพตามหลักขันติธรรม คือ การประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วยการเลี้ยงชีพชอบทางกาย ทางวาจาและทางใจอย่างมีความ อดทนดําเนินชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถนั้นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งการดําเนินชีวิตสุจริต ทางกาย ทางวาจา และทางใจ 22 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) เอกสารอ เอกสารอ้างอิง ิง : References บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. Tankeaw, B. (1999). The Truth of Life. Bangkok: Odienstore. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ป ยุตฺโต). (2549). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย. Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2006). The Characteristics of Buddhism. Bangkok: Pimseuy. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์. Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Dictionary of Buddhist. (16th ed.). Bangkok: S.R.Printing Mass Product. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press. สมภาร พรมทา. (2548). พุทธปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศยาม. Promta, S. (2005). Buddhist Philosophy. (2nd ed.). Bangkok: Sayam. (สมาชิกหมายเลข 3210706 ) วันที่: 28 มีนาคม 2565 เวลา:14:44:18 น.

 โดย: การประย การประยกตุ กตุ ์ หล ์ หลักขันติธรรมเพ ิธรรมเพ ื่อการเสร ื่อการเสริมสร ้ างส ้ างสังคมสันติสขุ ขุ An Application of Khanti Dhamma to Strengthening the Social Peace พระครูสชาต ุ ิกาญจนวงศ์ (ชานนท์จาครโต) Phrakhrusuchatkanchanawong (Chanon Cagarato) วัดเขาวงพระจันทร์ Wat Khaowongprachan , Thailand. Email: chanoncagarato@gmail.com บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขันติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ เพื่อประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในสังคมไทยปัจจุบัน วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ขันติคือ ความอดทน อดกลั้นทางกาย ทางใจ ไม่ประพฤติล่วง ละเมิดและแสดงกิริยาที่เหมาะสม ขันตินับเป็นคุณธรรมสําคัญที่บุคคลควรนํามาประพฤติ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ประเภทของขันติธรรมมี 4 อย่างคือ ความอดทนต่อความ ลําบาก ความอดทนต่อทุกขเวทนา ความอดทนต่อความเจ็บใจ ความอดทนต่ออํานาจกิเลส ขันติในแง่ที่เป็นคุณธรรมสนับสนุนให้การดํารงชีวิตประจําวันบรรลุเป้าหมาย ขันตินับเป็น คุณธรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนในการดํารงชีวิตของบุคคลให้ประสบกับสิ่งที่ดีงาม การประยุกต์หลักขันติธรรมในครอบครัวควรยึดหลัก 5 ประการของเบญจศีลเบญจธรรม คือ หลักประกันร่างกาย หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม และหลักประกันตนเอง 5 ข้อนี้เป็นกฎระเบียบและเป็นหลักประพฤติ ปฏิบัติขั้นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ทุกคน เมื่อนําหลักขันติธรรมมาเสริมสร้างครอบครัวและ สังคมมาใช้ร่วมกับหลักพุทธธรรมในการบริหารประเทศแล้ว จะทําให้เกิดความสุข สงบใน ประเทศได้ คําสําคัญ: หลักขันติธรรม, การเสริมสร้าง, สังคมสันติสุข 14 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) Abstract This article aims to study Khanti-Dhamma in Theravada Buddhist Scripture; and (3) to apply Khanti-Dhamma for promoting social peace in the present Thai society. From this study, it is found that Khanti means patience, bodily and mindful tolerance, not behaving in any violation and the expressions of proper manners. Khanti is an important virtue that people should have for their behaviors in attaining good aims. There are 4 types of Khanti-Dhamma, i.e., the patience towards difficulties, towards suffering, towards resentment and towards the power of desires, respectively. The application of Khanti-Dhamma in families should hold on to each of 5 principles of Pañcasila and Pañcadhamma which are the guarantees of body, property, family, society and self. These 5 guarantees are the basic rules and behavioral principle of practice for every human being. Moreover, Khanti-Dhamma being used in listening, thinking and training with patience will lead to wisdom. Upon using Khanti-Dhamma to reinforce families and society together with Buddhadhamma in governing the country, peaceful happiness can arise. Keywords: Khanti Dhamma, Strengthening, Social Peace Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 15 บทนํา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติสุขที่ก่อให้เกิดสันติภาพ และมีคําสอนที่เน้น การรู้จักให้อภัยอย่างแท้จริง ให้รู้จักการอดทนต่อสิ่งที่เข้ามากระทบในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิต มีปรากฏในคําสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่เหล่าสาวก ตอน หนึ่งว่า “ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรมผู้ทําร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะ” [(ที.ม. (ไทย) 10/90/50)] เพราะพระพุทธศาสนา สอนให้เรามีความรัก รวมไปถึง การให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ไม่ใช้กําลังเบียดเบียนคนที่ด้อยกําลังกว่าตน รู้จักการอดทนต่อ บุคคล และผู้ที่มีอดทนอดกลั้นจะได้รับการสรรเสริญจากบัณฑิต และสามารถพัฒนาจิตใจ ของตนเองให้สูงขึ้น ดังมีเรื่องที่เกี่ยวกับความอดทนในคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่นักปราชญ์ โบราณจารย์นํามาเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบของทศชาติชาดก เรื่อง ขันติบารมีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ดังปรากฏในวัฒนธรรมของสังคมไทยชาวพุทธ เมื่อเกิดการพลั้งเผลอ ทําผิดต่อกัน เกิดความเข้าใจผิดต่อกัน เกิดความขัดแย้งกันก็จะแสดง ความรักความเมตตาและมักให้อภัยซึ่งกันและกัน ข้อนี้เป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดี งามของสังคมไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมคําสอนมาจากพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความคิด และการ ประพฤติปฏิบัติดีของคนไทย การทําความดีต่อกันในระหว่างวงศ์ญาติมิตรสหาย เป็นคุณ สําคัญที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่ง สามารถสมัครสมานยึดเหนี่ยวน้ําใจให้รักใคร่กัน ให้นึกถึงกัน ด้วยความขอบคุณ โลกคือชุมชนที่ตั้งอยู่ด้วยสันติสุขก็เพราะอาศัย ศีล อาศัย สังคหธรรม คือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจให้รักกัน ประกอบด้วย การให้การเจรจาถ้อยคําที่น่ารัก การ ประพฤติประโยชน์ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ [ที.ปา. (ไทย) 11/210/170-171)] ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันและได้นํามาเป็นแนวทางในการอยู่ รวมกันในสังคม และหลักธรรมสําคัญที่ส่งผลให้เกิดความสันติสุขในประเทศ สามารถ ดําเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข การพัฒนาคนในสังคมให้เป็นคนดีมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง มีปัญญาพิจารณาสิ่ง ต่างๆในชีวิตได้อย่างดีเพ่ือความสงบสุขในสังคมไทย จําเป็นจะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดระเบียบสังคมให้ดีงาม และเกื้อกูลแก่คุณธรรม ด้วยเหตุนี้จึงมีหลักธรรมอยู่หลาย ประการที่ทําให้คนในสังคมและสภาพแวดล้อมได้รับการจัดสรรก่อให้เกิดชีวิตที่ดีร่วมกัน เพื่อให้คุณธรรมภายในเจริญงอกงาม นับว่าเป็นเรื่องสําคัญที่สุดในชีวิตที่จะช่วยให้การ ดําเนินสู่จุดหมายตามแนวทางของกระบวนธรรมที่รู้เข้าใจแล้วนั้น เป็นผลสําเร็จขึ้นมาใน ชีวิตจริงในการดําเนินชีวิตของคน (พระพรหมคุณาภรณ์ป.อ. ปยุตฺโต,2549) ถึงแม้ว่าทุก 16 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) คนต่างก็มีข้อบกพร่องอยู่ก็ตามแต่ถ้าหากรู้จักหลักในการอยู่ร่วมกันพร้อมทั้งได้ปฏิบัติตาม หลักการนั้นแล้วก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม กติกาในการอยู่ร่วมกันถือได้ว่าเป็นสิ่งสําคัญ (สมภาร พรมทา, 2548) จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง “การประยุกต์หลักขันติธรรมเพื่อการสร้างสังคมสันติ สุข” เพราะเห็นว่ามีเนื้อหาสาระสมบูรณ์ที่ควรน้อมนํามาศึกษาทั้งโดยปริยัติและปฏิบัติอีก ผู้วิจัยจึงได้เสนอหลักการและวิธีการของขันติธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อเป็นองค์ ความรู้นําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันโดย สันติของคนในสังคม ประเทศชาติแม้กระทั่งการมีสันติภาพของโลกโดยส่วนรวม และเมื่อ ศึกษาจนได้ข้อสรุปแล้ว ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อที่ผู้สนใจจะศึกษาค้นคว้า ในโอกาส และ นําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินชีวิตต่อไป วัตถุประสงค ุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักขันติธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขใน สังคมไทยปัจจุบัน วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study Research) โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งมีลําดับ ขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากเอกสาร เช่น พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถาที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะศึกษา 2. ศึกษาข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากเอกสารและรายงานการวิจัย เช่น ข้อเขียนที่เป็น ผลงานทางวิชาการของท่านผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนา 3. นําข้อมูลจากทั้งสองแหล่งข้างต้น มาวิเคราะห์แล้วนําเสนอในรูปการพรรณนา เชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ประกอบกับทรรศนะแนวความคิดเห็นของผู้วิจัย 4. สรุปผลของการศึกษาวิจัยและนําเสนอขอม้ ูลในรูปแบบพรรณนาต่อไป Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 17 หลักขันติธรรมในค ิธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ุทธศาสนาเถรวาท ความหมายของขันติธรรม ขันติคือ ความอดทน อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอัน ชอบ เป็นกิริยาที่อดทนต่อโลภะความอยากได้ต่อโทสะความโกรธเคืองจนถึงความพยาบาท มุ่งร้ายต่อโมหะความหลงงมงายเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ยั่วให้เกิดความอยากได้อยาก ล้างผลาญ อยากเบียดเบียนก็อดทนไว้ไม่แสดงอาการตามอํานาจแห่งโลภะโทสะโมหะและ อดทนต่อทุกขเวทนา เย็น ร้อน เป็นต้น อันทําให้ลําบากอดทนตรากตรําประกอบการงาน ต่างๆ หรืออดทนต่อถ้อยคําที่มีผู้กล่าวชั่วไม่เป็นที่ชอบใจ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช เจริญ สุวฑฺฒโณ, 2553; พระพรหมคุณาภรณ์ป.อ.ปยุตฺโต, 2551) สามารถ จําแนกขันติความอดทนได้ 4 กรณีดังนี้ 1) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความลําบาก ตรากตรําทางกาย อันเกิดจาก ความร้อนความหนาวความหิวกระหายและความเหนื่อยล้า 2) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดจากความเจ็บไข้ ได้ป่วย 4) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความเจ็บใจ อันเกิดจากวาจาหยาบคาย เสียดสีคํากล่าวล่วงเกินให้เสียหาย 4) ขันติความอดทน ความอดกลั้นต่อความเจ็บใจ อันเกิดจากวาจาหยาบคาย เสียดสีคํากล่าวล่วงเกินให้เสียหาย จากการศึกษาความหมายของขันติขันตินับเป็นหลักธรรมสําคัญทั้งในระดับสามัญ แห่งการดํารงชีวิต อันจะส่งเสริมให้บุคคลดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข จนกระทั่งเป็น หลักธรรมสําคัญในการส่งเสริมคุณธรรมระดับสูงเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่ง พระพุทธศาสนา ความสําคัญของขันติธรรม เป้าหมายในการดํารงชีวิตของมนุษย์คือ การตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ความต้องการทางร่างกายเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ความต้องการทาง สังคมเพื่อความอบอุ่นและความต้องการทางใจ เพ่ือชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งการดําเนินชีวิตให้ บรรลุเป้าหมายไม่ว่าในระดับใด ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมสําคัญที่จะส่งเสริมให้ประสบ ความสําเร็จดังเป้าประสงค์ขันตินับเป็นแรงขับเคลื่อนสําคัญที่จะส่งผลให้สมประสงค์ในสิ่ง นั้นๆ สามารถพิจารณาได้ดังที่บุญมีแท่นแก้ว (2542) แสดงไว้ในหนังสือความจริงของชีวิต ดังนี้ 18 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) 1) ความต้องการทางชีววิทยาอันเป็นความต้องการทางร่างกายเป็นความต้องการ พื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์เช่นอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค 2) ความต้องการทางสังคมเพราะโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่รวมกัน เพื่อความอบอุ่นใจเพอสงเคราะห์อนุเคราะห์กันทําให้มีการแต่งงานมีคู้ครองมีบุตรสืบสกุล 3) ความต้องการทางใจอันเป็นความต้องการที่ลึกซึ้งอยู่เบื้องหลังความต้องการ ด้านอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากเป้าหมายของชีวิตที่สําเร็จได้ด้วยอาศัยความอดทน ขันตินับเป็น คุณธรรมสําคัญที่บุคคลควรนํามาประพฤติเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ทั้งทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตใจ รวมถึงใช้ความอดทนพยายามสร้างสิ่งสนับสนุนรอบข้างที่จะ เกื้อหนุนให้ตนเองดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข ขันติเป็นคุณธรรมสําคัญที่สามารถพิจารณาและนํามาใช้ได้ทั้งในแง่ที่เป็นคุณธรรม ด้วยเป็นคุณสมบัติประจําตัวของปัจเจกบุคคล เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนในการ ดํารงชีวิตของบุคคลให้ประสบกับสิ่งที่ดีงาม นอกจากนี้ขันติยังเป็นศีลธรรม เพราะการ ประพฤติขันติย่อมแสดงอาการอดทน อดกลั้นเพื่องดเว้นจากการเบียดเบียน งดเว้นจากการ ประพฤติชั่ว ทางกาย ทางวาจา ควบคุมกาย วาจาให้เรียบร้อย ผู้ประพฤติขันติจึงรักษาศีล รักษาความปกติเอาไว้ได้ขันติจึงมีลักษณะเป็นทั้งคุณธรรมและศีลธรรม ประเภทของขันติธรรม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้จําแนกประเภทของขันติธรรมไว้อยู่ 4 ประเภท คือ 1. ความอดทนต่อความลําบาก หมายความว่า คนทํางานมากๆ แล้วได้รับความ ลําบากเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย หรือ ถูกแดด ลมฝนกระทบ ย่อมได้รับความลําบาก นานับประการ คนที่ไม่มีขันติเมื่อเผชิญกับความลําบากตรากตรํา มักจะทอดทิ้งการงาน เสีย เป็นคนมือบาง เท้าบาง ทําอะไรทิ้งๆ ขว้างๆ แต่ผู้มีขันติย่อมอดทนต่อสิ่งเหล่านี้กัดฟัน ทนทํางานของตนให้สําเร็จ 2. ความอดทนต่อทุกขเวทนา หมายความว่า ทนต่อทุกขเวทนาอันเกิดจากการ เจ็บไข้ได้ป่วย คนที่ขาดขันติเมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะแสดงมารยาทอันไม่สมควร ออกมา เช่น เจ็บปวดไม่พอจะร้องก็ร้อง ไม่พอจะครางก็คราง มีอาการกระบิดกระบอน เป็นคนเจ้ามายา โทโสโมโหง่าย บางคนอ้างความเจ็บป่วยเป็นเลิศ กระทําความชั่วต่างๆ ก็มี แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จักอดกลั้นทนทานไม่ปล่อยตัวให้เสีย หรือตกไปในทางชั่วดังกล่าวนั้น 3. ความอดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า เมื่อถูกผู้อื่นกระทําล่วงเกินให้เป็นที่ ขัดใจ เช่น ถูกด่าว่า หรือสบประมาท ผู้ขาดขันติย่อมเดือดดาลแล้วทําร้ายตอบ ด้วยการ Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 19 กระทําอันร้ายแรงเกินเหตุ เช่น เหน็บแนมด้วยวาจาหยาบคายหรือก่อความวิวาท สร้างเวร กรรมไม่สิ้นสุด เป็นทางนํามาซึ่งความหายนะแก่ตัวและครอบครัว แต่ผู้มีขันติย่อมรู้จัก อดทนสอนใจตัวเองหาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อยเป็นผลดีด้วยความสงบ 4. ความอดทนต่ออํานาจกิเลส หมายความว่า ความอดทนต่อความเจ็บใจในข้อ 3 นั้น เป็นความอดทนต่ออารมณ์ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน เช่น ความสนุก การเที่ยวเตร่การได้ ผลประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น การประย การประยุกตใช์ ใช์ ้หลักขันตธรรมเพ ิ ธรรมเพ ิ ื่อการเสร ื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสขในส ุ ขในส ุ ังคมไทย ังคมไทย ปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ศึกษาประเด็นขันติธรรมกับการเสรมสร ิ ้างบุคลิกภาพ การประยุกต์ใช้หลัก ขันติธรรมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หลักขันติธรรมกับการดําเนินชีวิตครอบครัว การประยุกต์หลักขันติธรรมใช้ในครอบครัวนั้น ควรยึดหลักประกัน 5 ประการของ เบญจศีล-เบญจธรรม คือ หลักประกันประการที่ 1 : ต่างฝ่ายต่างมีขันติธรรมไม่สร้างความโหดร้ายรุนแรงขึ้น ในจิตของกันและกันโดยการตั้งจิตไว้ในความเมตตากรุณา มีความรักใคร่ปรารถนาดีและ สงสารเห็นใจอีกฝ่ายเสมอในฐานะที่ได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันเสมือนลงเรือลาเดียวกันแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาการใช้กาลังข่มเหงทําร้ายร่างกายกันซึ่งมีผลเป็นความเป็นความบาดเจ็บ ทั้งร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะสามีต้องให้หลักประกันแก่ภรรยาให้มาก หลักประกันประการที่ 2 : ต่างฝ่ายต้องขันติธรรม ไม่เป็นคนมือไวเห็นแก่ได้จน สร้างความระแวงสงสัยให้แก่กันและกัน เพื่อเป็นหลักประกันด้านทรัพย์สินภายใน ครอบครัว ดังมีสามีภรรยาบางคู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องซ่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้เพื่อไม่ให้อีก ฝ่ายนําไปใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย อาทินําไปเล่นการพนันจัดเป็นการขาดหลักประกันทางด้าน เศรษฐกิจ หรือขาดความปลอดภัยทางทรัพย์สิน และขาดความเชื่อใจกัน หลักประกันประการที่ 3 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีขันติธรรมไม่ใจเร็วด่วนได้ตั้งตนไว้ใน ความพอดีในเรื่องกามคุณ มีความสันโดษยินดีพอใจเฉพาะในคู่ครองของตนโดยไม่คิด นอกใจ ไม่เหลาะแหละจึงจะเป็นหลักประกันในเรื่องความรักในคู่ครองได้ซึ่งนับเป็นความ ปลอดภัยของครอบครัว เพราะการเป็นต้นแบบที่ไม่เจ้าชู้ให้แก่ลูกหลานด้วย หลักประกันประการที่ 4 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีขันติธรรมไม่พูดปดมดเท็จต่อกัน เป็น การสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจกันด้วยหลักแห่งความสัตย์เป็นหลักประกันแห่งความ 20 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) ซื่อสัตย์ตรงต่อกัน มิเช่นนั้น คนที่รักกันมานาน หากได้รู้ในภายหลังว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ซื่อสัตย์ ต่อกัน ก็จะเปลี่ยนจากรักเป็นแค้นแทน จนถึงแก่ทําร้ายหรือทําลายกันในที่สุด หลักประกันประการที่ 5 : ต่างฝ่ายต่างต้องมีหลักขันติธรรมไม่สร้างเหตุความลุ่ม หลง ขาดสติโดยใช้สิ่งเสพติดมึนเมาเป็นเครื่องย้อมใจให้เกิดความฮึกเหิมต้องใช้หลักการ ประคับประครองตนด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นหลักประกันแห่งความไม่ประมาทและที่ สําคัญที่ต้องตระหนักอย่างแรงกล้า เพราะเป็นทางนํามาของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ทั้งในครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ 2. หลักขันติธรรมกับการประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพควรยึดหลักขันติธรรมโดยประกอบสัมมาอาชีวะ เป็น แนวทางที่นําไปสู่ความสุขสงบภายใน เป็นการดําเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะ โดยยึด หลักการดังต่อไปนี้ 1) มีขันติธรรมไม่โลภอยากได้ทรัพย์คนอื่นเลี้ยงชีพ พระพุทธศาสนาเรียกภาวะ ทางจิตใจนี้ว่า อนภิชชา เป็นสภาพจิตที่สามารถควบคุมความโลภไว้ได้คือไม่โลภอยากได้ ของๆ คนอื่นในทางที่ไม่ชอบไม่ควร คิดเลี้ยงชีพวางแผนดําเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ศีลธรรม จนสามารถพัฒนาจิตของตนให้มีความพร้อมที่จะเสียสละ บริจาคสงเคราะห์คนทั้งหลายด้วยความเมตตา กรุณา มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อม อารีต่อคนทั้งหลายเรียกว่า เป็นคนมีน้ําใจงาม 2) มีขันติธรรมไม่คิดเบียดเบียนคนอื่นเลี้ยงชีพ เป็นการควบคุมสภาพจิตใจต่อ ความพยาบาท ปองร้าย ผู้อื่นเพื่อหวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ให้มีจิตเมตตา คิดเอื้อเฟื้อ ประโยชน์แก่ผู้อื่น อันจะนําไปสู่การแสวงหาประโยชน์ที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่ส่งผล กระทบต่อผู้อื่นให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย 3) มีขันติธรรมไม่คิดเอารัดเอาเปรียบคนอื่นเลี้ยงชีพ คือเว้นจากการคิดหา โอกาสเพื่อตักตวงเอาผลประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง การคิดเอารัดเอา เปรียบคนอื่นเลี้ยงชีวิตจัดเป็นความเห็นแก่ตัวและเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องในการดําเนิน ชีวิต ซึ่งขัดต่อหลักสัมมาอาชีวะ หลักการประกอบอาชีพตามหลักขันติธรรม คือการประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วย การเลี้ยงชีพชอบทางกาย ทางวาจาและทางใจอย่างมีความอดทนดําเนินชีวิตตามหลักกุศล กรรมบถนั้นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งการดําเนินชีวิตสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งเป็นหลักการของสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา Journal of MCU Buddhapanya Review Vol. 1 No. 1 (January - April 2016) 21 สรุป วิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน สามารถนํามาประมวล ผลรวมของสาเหตุทั้งได้สองอย่างคือความขัดขัดแย้งที่เกิดจากภายนอกและความขัดแย้งที่ เกิดจากภายในซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อจิตภาพ คือสุขภาพจิตของมนุษย์เพราะว่าจิตของ มนุษย์นั้นได้ประสบกับการสูญเสีย “ดุลยภาพ ” อันเป็นการสูญเสียความสมดุล เนื่องจาก สถานการณ์ของความขัดแย้งในบางมิตินั้นได้ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพจิต และยังส่งผลเสียไป ยังระบบต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย ในทัศนะของพระพุทธศาสนา หลักขันติธรรม คือ ความ อดทนอดกลั้นให้มาก เพราะเราไม่ได้อยู่เพียงลําพังคนเดียว ต้องมีการติดต่อสื่อสาร เกี่ยวข้องกับคนรอบข้าง และผู้คนอีกมากมายในสังคม พบปะสิ่งของที่ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจ บ้าง ถ้าปราศจากความอดทนเสียแล้ว คุณงามความดีต่างๆที่เราได้สั่งสมไว้อาจจะพังทลาย ลงได้เพราะอารมณ์เพียงชั่ววูบ ที่เกิดจากการขาดความยั้งคิด ขาดความอดทน ไม่ได้ พิจารณาไตร่ตรองให้ดีผลที่เกิดแต่การมีขันติธรรมนั้น ทําให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้มี ความสุขในสังคมร่วมกัน ขันติธรรมมีส่วนสําคัญอย่างมากในการสร้างเสริมบุคลิกภาพ คือ บุคลิกภาพที่เป็น ลักษณะที่ปรากฏภายนอกได้แก่สภาพนิสัยจําเพาะ หรือลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลหนึ่ง ที่ แสดงออกมาในรูปพฤติกรรม ทางกาย วาจา ต่อบุคคลอื่น หรือต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ของบุคคลนั้น และบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะที่ปรากฏภายใน ได้แก่สภาพลักษณะนิสัย การ พัฒนาบุคลิกภาพ หมายถึง การปรับปรุงบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะที่ปรากฏภายนอก และ บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะภายใน ให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสม ส่วนการประยุกต์ หลักขันติธรรมใช้ในครอบครัวนั้น ควรยึดหลักของเบญจศีล-เบญจธรรม ที่ประกอบด้วย หลักประกันร่างกาย หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม และ หลักประกันตนเอ เมื่อนําหลักขันติธรรมมาเสริมสร้างครอบครัวโดยยึดหลักเบญจศีล เบญจ ธรรมจะทําให้ครอบครัวมีความสุขในที่สุด หลักการประกอบอาชีพตามหลักขันติธรรม คือ การประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วยการเลี้ยงชีพชอบทางกาย ทางวาจาและทางใจอย่างมีความ อดทนดําเนินชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถนั้นเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งการดําเนินชีวิตสุจริต ทางกาย ทางวาจา และทางใจ 22 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบบทั ี่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559) เอกสารอ เอกสารอ้างอิง ิง : References บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. Tankeaw, B. (1999). The Truth of Life. Bangkok: Odienstore. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ป ยุตฺโต). (2549). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย. Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2006). The Characteristics of Buddhism. Bangkok: Pimseuy. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์. Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Dictionary of Buddhist. (16th ed.). Bangkok: S.R.Printing Mass Product. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press. สมภาร พรมทา. (2548). พุทธปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศยาม. Promta, S. (2005). Buddhist Philosophy. (2nd ed.). Bangkok: Sayam. (สมาชิกหมายเลข 3210706 ) วันที่: 28 มีนาคม 2565 เวลา:14:44:18 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Fimages%2Fdm-info-63%2FDM-INF-40.jpg&imgrefurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Findex.php%2F2017-10-14-13-20-39%2F2020-02-06-08-06-17%2Fitem%2F5892-08-aug28-63-dama-info-40&tbnid=F7P_hi3CPvv6DM&vet=12ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ..i&docid=xa7S-l5tpSrtEM&w=1152&h=1536&q=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B0&ved=2ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ