[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก @๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ- @ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ @๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

  [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก @๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ- @   เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ @๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Fimages%2Fdm-info-63%2FDM-INF-40.jpg&imgrefurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Findex.php%2F2017-10-14-13-20-39%2F2020-02-06-08-06-17%2Fitem%2F5892-08-aug28-63-dama-info-40&tbnid=F7P_hi3CPvv6DM&vet=12ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ..i&docid=xa7S-l5tpSrtEM&w=1152&h=1536&q=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B0&ved=2ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ

ความคิดเห็นที่ 18 นิพพานคือนิพพาน ตอบกลับ 0 0 สมาชิกหมายเลข 5378236 7 นาทีที่แล้ว ---- ด้วยความเคารพท่านเจ้าของกระทู้ เนื่องจากนิพพานเป็น สภาวะที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติเพื่อความหมดทุกข์ ของชาวพุทธ การได้รู้ นิพพาน อย่างชัดเจน ย่อมมีประโยขน์ต่อการมุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อเป้าหมายที่เข้าใจ มากกว่าไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดไป หากท่านเจ้าของกระทู้ ได้ตั้งกระทู้มาแล้ว เพื่อให้คนได้อ่าน ได้ตอบ ถ้าได้เมตตา อธิบาย ว่า นิพพาน เป็นเช่นไร สภาวะ เช่นไร ให้เข้าใจมากขึ้น อาจจะช่วยให้ผู้ไม่รู้ ได้รู้ อาจจะทำให้ ท่านที่เห็นต่างกันว่า นิพพาน คืออะไร มีสภาวะอย่างไร ได้เข้าใจขึ้น ขอบพระคุณมากครับ