ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศาสนสถาน ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงเป็นที่รวมองค์ประกอบหลักของศาสนา ทั้งหมดในศาสนสถาน ฐานะ ของศาสนสถานจึงเป็นสมบัติของศาสนา "วัด" คือ สถานที่ทางศาสนา ตามปกติแล้วจะมีเสนา สนะและอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นที่พำนักอาศัยศึกษา ปฏิบัติ พระธรรมวินัย และประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ สงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและทางสังคม รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วัดทั้งหลายมีฐานะทางกฎหมาย คือ เป็นนิติบุคคลเท่าเทียมกัน แต่ในทางพระวินัยมีฐานะแตกต่างกัน ดังนั้น ตามมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ จำแนกวัดออกเป็น 2 ชนิด คือ สำนักสงฆ์ และวัดที่ได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา "สำนักสงฆ์" หมายถึงวัดที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัด แล้วแต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างขึ้นตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 และวัดที่สร้างขึ้นก่อน ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ทางกฏหมายแล้ว "วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา"หมายถึง "อาราม" ตามที่ได้เคยบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 เป็นวัดที่เลื่อนฐานะมาจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรมตามพระธรรมวินัยสำหรับพระสงฆ์ นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยฐานะทั้ง ทางกฏหมายและทางพระธรรมวินัยทุกประการ "พระอารามหลวง" หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เป็นการส่วน พระองค์ พระอารามหลวงที่สำคัญ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๒๐ บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชม ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และเป็น วัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 34 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และวัดประจำรัชกาลที่ 2 วัดราชโอรสาราม ตั้งอยู่ที่ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพ 10150 ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่3 วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 4 วัดเบญจมบพิตรสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 5 วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งอยู่ที่ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 6 และที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ "มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)" วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 7 วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และวัดประจำรัชกาลที่ 8 วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 กาญจนาภิเษก 19 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : พระอารามหลวง และวัดประจำรัชกาลที่ 9 ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

 

          ศาสนสถาน ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงเป็นที่รวมองค์ประกอบหลักของศาสนา ทั้งหมดในศาสนสถาน ฐานะ ของศาสนสถานจึงเป็นสมบัติของศาสนา

          "วัด" คือ สถานที่ทางศาสนา ตามปกติแล้วจะมีเสนา สนะและอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นที่พำนักอาศัยศึกษา ปฏิบัติ พระธรรมวินัย และประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ สงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและทางสังคม รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วัดทั้งหลายมีฐานะทางกฎหมาย คือ เป็นนิติบุคคลเท่าเทียมกัน แต่ในทางพระวินัยมีฐานะแตกต่างกัน ดังนั้น ตามมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ จำแนกวัดออกเป็น 2 ชนิด คือ สำนักสงฆ์ และวัดที่ได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
 
          "สำนักสงฆ์" หมายถึงวัดที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัด แล้วแต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างขึ้นตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 และวัดที่สร้างขึ้นก่อน ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ทางกฏหมายแล้ว

          "วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา"หมายถึง "อาราม" ตามที่ได้เคยบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 เป็นวัดที่เลื่อนฐานะมาจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรมตามพระธรรมวินัยสำหรับพระสงฆ์ นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยฐานะทั้ง ทางกฏหมายและทางพระธรรมวินัยทุกประการ

          "พระอารามหลวง" หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เป็นการส่วน พระองค์



พระอารามหลวงที่สำคัญ

         วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๒๐ บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชม ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และเป็น วัดประจำรัชกาลที่ 1

          วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 34 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ :  พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และวัดประจำรัชกาลที่ 2

          วัดราชโอรสาราม ตั้งอยู่ที่ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพ 10150 ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่3

          วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ความสำคัญ :  พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 4

          วัดเบญจมบพิตรสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300  ความสำคัญ :  พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 5

          วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งอยู่ที่ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 6 และที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ "มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)"

          วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 7

          วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย และวัดประจำรัชกาลที่ 8

          วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9  กาญจนาภิเษก 19 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร  ความสำคัญ : พระอารามหลวง และวัดประจำรัชกาลที่ 9


ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Fimages%2Fdm-info-63%2FDM-INF-40.jpg&imgrefurl=http%3A%2F%2Fwww.luangtanarongsak.org%2Fhome%2Findex.php%2F2017-10-14-13-20-39%2F2020-02-06-08-06-17%2Fitem%2F5892-08-aug28-63-dama-info-40&tbnid=F7P_hi3CPvv6DM&vet=12ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ..i&docid=xa7S-l5tpSrtEM&w=1152&h=1536&q=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B0&ved=2ahUKEwjr5ovOh5bwAhUBsksFHfiaAFkQMygMegUIARCXAQ

ความคิดเห็นที่ 18 นิพพานคือนิพพาน ตอบกลับ 0 0 สมาชิกหมายเลข 5378236 7 นาทีที่แล้ว ---- ด้วยความเคารพท่านเจ้าของกระทู้ เนื่องจากนิพพานเป็น สภาวะที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติเพื่อความหมดทุกข์ ของชาวพุทธ การได้รู้ นิพพาน อย่างชัดเจน ย่อมมีประโยขน์ต่อการมุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อเป้าหมายที่เข้าใจ มากกว่าไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดไป หากท่านเจ้าของกระทู้ ได้ตั้งกระทู้มาแล้ว เพื่อให้คนได้อ่าน ได้ตอบ ถ้าได้เมตตา อธิบาย ว่า นิพพาน เป็นเช่นไร สภาวะ เช่นไร ให้เข้าใจมากขึ้น อาจจะช่วยให้ผู้ไม่รู้ ได้รู้ อาจจะทำให้ ท่านที่เห็นต่างกันว่า นิพพาน คืออะไร มีสภาวะอย่างไร ได้เข้าใจขึ้น ขอบพระคุณมากครับ