ตั้งปัญหาว่า พุทธศาสนามีมาในสังคมไทยนานแล้ว การสอนพุทธศาสนาก็มีสอนอยู่ในหมู่คนไทย ที่นับถือพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ทำไมความเข้าใจในศาสนาจึงไม่บังเกิดขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น น่าจะมีข้อบกพร่องพื้นฐาน ซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ ทั้งๆ ที่พระธรรมก็เป็นของดีจริง ลองนึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วประกาศศาสนา ทรงมีพระชนมายุเพียง ๓๕ พรรษา ศาสดาคณาจารย์ในสมัยนั้น ก็เป็นศาสดาจารย์ผู้เฒ่าสูงอายุ คนในสมัยนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู แต่พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสถาปนาพุทธศาสนาขึ้นมาได้ในท่ามกลางศาสนาอื่น พอมาถึงเมืองไทย คนไทยนับถือพุทธศาสนามานานในดินแดนแถบนี้ จับเอาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ทำไมการสอนความเข้าใจในพุทธศาสนาจึงมีไม่มากเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่พระเป็นผู้สอนก็อยู่ในหมู่ชาวพุทธ ไม่ได้ไปชักชวนใครให้เขามานับถือ ทำไมไม่ได้ผล บางคนนับถืออยู่แล้วกลับไม่นับถือ ไปนับถือศาสนาอื่นก็มี บางคนเคยใส่บาตรเคยทำบุญ พอเข้าใกล้ศาสนาเข้าไปจริงๆ กลับถอนตัวออกมา คนเคยบวชพอหลังจากบวชก็ไม่เข้าวัดอีก ไม่นับถือพระสงฆ์ แสดงว่าติดลบ อะไรเป็นข้อบกพร่องมูลฐาน (Fundamental cause) ท่านลองช่วยกันหาดู ชาวไทยหรือสังคมในฐานะที่นับถือพุทธศาสนามานานหลายชั่วอายุคน น่าจะดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธจนเป็น “แบบ” ว่าชาวพุทธต้องดำเนินชีวิตแบบนี้ ในสังคมไทยมีแบบของชีวิตอย่างนี้สักเท่าไร หรือว่า แบบชีวิตไม่ได้เป็นพุทธแต่เป็นอย่างอื่น ทั้งๆ ที่ยังนับถือพุทธอย่างนี้ มีอะไรเป็นข้อบกพร่องอยู่ คล้ายคนเป็นมะเร็งไม่หายก็ไม่มีทางที่สุขภาพจะดีได้ ในเบื้องต้นนี้ ข้าพเจ้าขอสรุปสาเหตุหลักๆ ไว้ก่อน ๓ ประการ คือ ประการที่ ๑ มีความเข้าใจผิด ยึดเอาพิธีกรรมต่างๆ เป็นสาระของศาสนา โดยเห็นเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องสำคัญและดึงคนไปได้มาก ในทางที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำเอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมี นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนาไม่ค่อยได้ผล เมื่อมีการเข้าใจผิดเสียแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดต่อๆ กันไป ประการที่ ๒ ชาวพุทธฝ่ายฆราวาสส่วนมากยกเรื่องศาสนาให้เป็นของพระสงฆ์ และคนแก่ พวกตนต้องทำมาหากินจึงไม่มีเวลาสำหรับศาสนา ฆราวาสส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท ๔ จะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ตัวฆราวาสเอง ถ้าเผื่อเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ประการที่ ๓ คำสอนของพระสงฆ์ไม่เป็นเอกภาพ (unity) ทำให้พุทธบริษัทสับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก คนนี้ดึงไปทางตัดกรรม ทำให้ไม่ก้าวหน้า คนกลางก็ลำบาก ไม่รู้จะไปทางไหนดี ตนเองก็ไม่อาจตัดสินใจได้ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ต้องคอยเชื่อพระสงฆ์ ในขณะที่พระบางรูปสอนตรงแนวทางตามหลักของพุทธศาสนา แต่มีหลายพวกพยายามดึงพุทธบริษัท พุทธบริษัทเห็นว่าทางนี้ง่ายดี ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติเพียงแต่ทำอย่างนั้นอย่างนี้จะได้เอง ยกตัวเรื่องตัดกรรม มีเวรมีกรรมพากันไปตัดกรรม ตัดได้อย่างไร มีอานุภาพอะไรที่จะตัดกรรมของคนอื่น แต่คนก็เชื่อแล้วสบายใจด้วย
ตั้งปัญหาว่า พุทธศาสนามีมาในสังคมไทยนานแล้ว การสอนพุทธศาสนาก็มีสอนอยู่ในหมู่คนไทย ที่นับถือพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ทำไมความเข้าใจในศาสนาจึงไม่บังเกิดขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น น่าจะมีข้อบกพร่องพื้นฐาน ซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ ทั้งๆ ที่พระธรรมก็เป็นของดีจริง ลองนึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วประกาศศาสนา ทรงมีพระชนมายุเพียง ๓๕ พรรษา ศาสดาคณาจารย์ในสมัยนั้น ก็เป็นศาสดาจารย์ผู้เฒ่าสูงอายุ คนในสมัยนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู แต่พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสถาปนาพุทธศาสนาขึ้นมาได้ในท่ามกลางศาสนาอื่น
พอมาถึงเมืองไทย คนไทยนับถือพุทธศาสนามานานในดินแดนแถบนี้ จับเอาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ทำไมการสอนความเข้าใจในพุทธศาสนาจึงมีไม่มากเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่พระเป็นผู้สอนก็อยู่ในหมู่ชาวพุทธ ไม่ได้ไปชักชวนใครให้เขามานับถือ ทำไมไม่ได้ผล
บางคนนับถืออยู่แล้วกลับไม่นับถือ ไปนับถือศาสนาอื่นก็มี
บางคนเคยใส่บาตรเคยทำบุญ พอเข้าใกล้ศาสนาเข้าไปจริงๆ กลับถอนตัวออกมา
คนเคยบวชพอหลังจากบวชก็ไม่เข้าวัดอีก ไม่นับถือพระสงฆ์ แสดงว่าติดลบ อะไรเป็นข้อบกพร่องมูลฐาน (Fundamental cause) ท่านลองช่วยกันหาดู
ชาวไทยหรือสังคมในฐานะที่นับถือพุทธศาสนามานานหลายชั่วอายุคน น่าจะดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธจนเป็น “แบบ” ว่าชาวพุทธต้องดำเนินชีวิตแบบนี้ ในสังคมไทยมีแบบของชีวิตอย่างนี้สักเท่าไร หรือว่า แบบชีวิตไม่ได้เป็นพุทธแต่เป็นอย่างอื่น ทั้งๆ ที่ยังนับถือพุทธอย่างนี้ มีอะไรเป็นข้อบกพร่องอยู่ คล้ายคนเป็นมะเร็งไม่หายก็ไม่มีทางที่สุขภาพจะดีได้
ในเบื้องต้นนี้ ข้าพเจ้าขอสรุปสาเหตุหลักๆ ไว้ก่อน ๓ ประการ คือ
ประการที่ ๑ มีความเข้าใจผิด ยึดเอาพิธีกรรมต่างๆ เป็นสาระของศาสนา โดยเห็นเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องสำคัญและดึงคนไปได้มาก ในทางที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำเอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมี นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนาไม่ค่อยได้ผล เมื่อมีการเข้าใจผิดเสียแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดต่อๆ กันไป
ประการที่ ๒ ชาวพุทธฝ่ายฆราวาสส่วนมากยกเรื่องศาสนาให้เป็นของพระสงฆ์ และคนแก่ พวกตนต้องทำมาหากินจึงไม่มีเวลาสำหรับศาสนา ฆราวาสส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท ๔ จะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ตัวฆราวาสเอง ถ้าเผื่อเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ
ประการที่ ๓ คำสอนของพระสงฆ์ไม่เป็นเอกภาพ (unity) ทำให้พุทธบริษัทสับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก คนนี้ดึงไปทางตัดกรรม ทำให้ไม่ก้าวหน้า คนกลางก็ลำบาก ไม่รู้จะไปทางไหนดี ตนเองก็ไม่อาจตัดสินใจได้ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ต้องคอยเชื่อพระสงฆ์ ในขณะที่พระบางรูปสอนตรงแนวทางตามหลักของพุทธศาสนา แต่มีหลายพวกพยายามดึงพุทธบริษัท พุทธบริษัทเห็นว่าทางนี้ง่ายดี ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติเพียงแต่ทำอย่างนั้นอย่างนี้จะได้เอง ยกตัวเรื่องตัดกรรม มีเวรมีกรรมพากันไปตัดกรรม ตัดได้อย่างไร มีอานุภาพอะไรที่จะตัดกรรมของคนอื่น แต่คนก็เชื่อแล้วสบายใจด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น