มาฆบูชา...โอวาทปาฏิโมกข์ วันมาฆบูชา ถือว่า เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับพวกเราชาวพุทธ เพราะ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงหลักธรรม อันมีความสำคัญอย่างมาก คือ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3" *************** โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์ โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นแก่นแกนของหลักธรรมทั้งหลาย ถือว่า “เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา” โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประกอบด้วย 1.การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง) 2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสะลัสสูปะสัมปะทา) 3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง) *************** เพราะว่า “สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)” กรรมดี หรือ กุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข) กรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์) กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม” โดยมี “โลกียสุข” เป็นเหยื่อล่อ (เป็นอกุศลมูล) ดังนั้น ถ้าพวกเราต้องการจะพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์ พวกเราต้องปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ทั้ง 3 ข้อ คือ 1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต 2. ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง หมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต 3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง หมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นอกุศลมูล หรือ มูลเหตุของอกุศล ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น เพื่อทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ์ *************** การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์ คือ การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” โดยใช้ “มรรคมีองค์ ๘” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และใช้ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา)” ขับเคลื่อน *************** อกุศลมูล[อะกุสนละมูน] หมายถึง น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ (พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน) ชาญ คำพิมูล 16/2/2565 วันมาฆบูชา
มาฆบูชา...โอวาทปาฏิโมกข์
วันมาฆบูชา ถือว่า เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับพวกเราชาวพุทธ
เพราะ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงหลักธรรม อันมีความสำคัญอย่างมาก คือ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3"
***************
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นแก่นแกนของหลักธรรมทั้งหลาย ถือว่า “เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา”
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประกอบด้วย
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง)
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสะลัสสูปะสัมปะทา)
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง)
***************
เพราะว่า
“สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)”
กรรมดี หรือ กุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข)
กรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์)
กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม” โดยมี “โลกียสุข” เป็นเหยื่อล่อ (เป็นอกุศลมูล)
ดังนั้น
ถ้าพวกเราต้องการจะพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
พวกเราต้องปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ทั้ง 3 ข้อ คือ
1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
2. ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง หมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง หมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นอกุศลมูล หรือ มูลเหตุของอกุศล ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น เพื่อทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ์
***************
การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
คือ การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3”
โดยใช้ “มรรคมีองค์ ๘” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
และใช้ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา)” ขับเคลื่อน
***************
อกุศลมูล[อะกุสนละมูน] หมายถึง น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ (พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)
ชาญ คำพิมูล
16/2/2565 วันมาฆบูชา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น